ว่าด้วยเรื่องของการจับถือกล้องถ่ายภาพ
(Camera Holding Tips)

เรียบเรียงโดย ภก.ประชาสรรณ์ แสนภักดี (freelance photographer)
ผู้จัดการศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล (Glocalization Training Center)
รองประธานชมรมถ่ายภาพ จังหวัดขอนแก่น
web site ชมรมถ่ายภาพจังหวัดขอนแก่น http://thai.net/photokk มีข้อมูลความรู้มากมายรอท่านอยู่

          เรื่องราวของการถ่ายภาพมีหลากหลาย เรากลับมาคุยกันเรื่องของพื้นฐานในการถ่ายภาพกัน นั่นก้คือ วิธีการในการจับถือ กล้องภาพ เพื่อความคล่องตัว และปลอดภัยของกล้องถ่ายภาพของเราที่ซื้อมาในราคาแพง
          ในการถ่ายภาพงานรับปริญญาสิ่งที่ช่างภาพต้องการมากคือ ความคล่องตัวในการทำงาน การเคลื่อนย้าย การก้ม การเงย หรือการปีนป่าย ในบางกรณี ดังนั้นหากช่างภาพ มีสิ่งของที่จะต้องติดตัวไปด้วยจำนวนมากหลาย กิโลกรัมคงจะไม่เป็นการดีเป็นแน่ ( ควรจะนำเอาเฉาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้นติดตัวไปด้วย)

วิธีการ
ภาพประกอบ
Do's & Don't
ถือกล้องแนวนอน
Horizontal pane holding
การจับถือกล้องที่ถูก หรือ ที่ดี ควรจะให้ข้อศอกทั้งสองข้าง แนบลำตัว เพื่อให้มีความมุ่นคง และนิ่งในการถือกล้อง เรียกว่าใช้ เป็นขาค้ำยันข้อศอก และจังหวะ ที่จะกดชัตเตอร์ ก็ให้กลั้น หายใจ เพื่อให้นิ่งจริงๆ มือซ้ายรอง ที่ใต้เลนส์ มือขวา กำที่ Grip จังของกล้อง ท่านี้จะให้ความมั่น คงในการจับถือกล้องเป็นอย่างมาก
ถือกล้องแนวตั้ง
Vertical pane holding
การถือกล้องเพื่อถ่ายภาพเฟรม แนวตั้ง (Vertical) ก็ยังคงให้ข้อ ศอกแนบกับลำตัวเพื่อให้เกิดความมั่นคง ภาพไม่สั่นไหว ในการถ่ายภาพ โดยการดึงมือขวาลงด้านล่าง เป็นขาค้ำยันให้กับ กล้องลักษณะการถือแบบนี่เรียกว่า มั่นใจได้ในเรื่องของ ความมั่นคง
การถือกล้องแนวตั้ง ที่ไม่ควร ในการถือกล้องตามในภาพ เป็นแบบที่ไม่ดีนัก เนื่องจาก แขนทั้งสองข้างออกห่างลำตัว ทำให้ขาดความมั่นคงไป โดยเฉพาะข้อศอกด้านขวา ของช่างภาพยกขึ้นสูง ดูเป็นมืออาชีพ ก็จริง แต่มีผลต่อการสั่นไหวของภาพ โดยตรง ยังมีอีกหลายวิธี ที่จะแสดงความเป็นมืออาชีพ ในการจับถือกล้องถ่ายภาพ ยังไงก็ พยายามเลี่ยงวิธีการนี้
สะพายกล้องด้านหน้า การสะพายกล้องด้านหน้า แบบคล้องคอ เป็นแบบที่นิยมทำ กันมาก วิธีการนี้ หากมือเราว่าง สามารถใช้มือ ประคองกล้องไว้ได้เป็นอย่างดี แต่จะมีปัญหาเวลาเราก้ม เพราะกล้องจะออกห่างลำตัว จึงควรจะระมัดระวัง อีกอย่าง กล้องจะไปกระทบหน้าท้อง เวลาเดินอาจจะทำให้เจ็บได้ โดยเฉพาะผู้ที่หน้าท้องไม่หนา (คนผอม) ส่วนคนอ้วน คงไม่มีปัญหาเพราะมีพุงรองรับ
สะพายด้านข้าง แบบ สาว Office การสะพายกล้องในแบบ สาว Office นี้ไม่เหมาะเป็นอย่าง ยิ่งเพราะโอกาสที่กล้องจะหลุดจากบ่ามีสูงมาก อีกทั้งเวลาเดินทาง หรือเบียดเข้าไปในหมู่คน กล้องกับกล้อง อาจจะไปเจอกันได้ หรือไม่ก็ไปกระทบขอบโต๊ะ ขอบเตียง(กรณีเดินผ่านเตียงคนไข้- ไม่ใช่เตียงนอน(นางแบบ)) อิอิ แบบนี้จึงไม่เหมาะ ห้ามโดดเด็ดขาด ดูสวยงามแต่อันตรายต่อกล้อง ง่ายในการฉก ชิง วิ่งราวไปด้วย
สะพายด้านข้าง แบบสะพายแล่ง การสะพายแบบนี้ดีขึ้นกว่า เดิม คือ การสะพายแล่ง แบบหันกล้อง เลนส์ออกด้านนอก แต่จุดด้อยก็อยู่ที่เลนส์ที่ยื่นออกด้านนอก ทำให้มีโอกาสไปกระทบขอบโต๊ะได้โดยง่าย
สะพายแล่งเข้าด้านใน สะพายแล่งแบบ หันเลนส์และกล้องเข้าหาลำตัว ของช่างภาพ นี่เป็นแบบที่มีความลงตัวมากที่สุด เรียกว่า ไม่ไปชนกับใคร เก็บเลนส์ไว้ด้านในได้อีกต่างหาก แบบนี้แนะนำให้ทำนะ จะได้มั่นใจ ของแพงจะอยู่กับเรานานๆ
กระเป๋าอุปกรณ์
camera bag
กระเป๋ากล้องอุปกรณ์ถ่ายภาพ เพื่อเก็บของชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย ไปด้วยในการทำงาน ในภาคสนาม กระเป๋ากล้องมีหลายรูป แบบที่เหมาะกับแต่ละงาน เช่น ในภาพเป็นกระเป๋ากล้องแบบ ถือ หรือสะพายธรรมดา บางครั้งหากมีอุปกรณ์หลายชิ้นอาจจะดูหลัก เอียงข้าง ด้านใด ด้านหนึ่ง ยังไงก็อย่านำอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นติดตัวไปมากเกินไป เลิกงานเดี๋ยวจะเดินเอียงข้างแบบไม่ตั้งใจ
Tripod ขาตั้งกล้อง บางครั้งขาตั้งกล้องก็มีความจำเป็นจะต้องนำติดตัวไปด้วย เพื่อถ่ายภาพในเวลาที่แสงน้อยๆ หรืออาจจะต้องการถ่ายภาพ ให้ผลพิเศษ เช่น การถ่ายภาพนางแบบ มีฉลากหลังเป็น ไฟถนน หรือไฟประดับอาคารที่สวยงาม
เสื้อกั๊ก (Vest) เสื้อกั๊ก เป็นอีก สิ่งหนึ่งที่ของแนะนำ หากต้องการพัฒนา สู่ความเป็นมืออาชีพ มันจะทำให้เรามีความคล่องตัวในการ เคลื่อนไหว ไปมา การเดิน การเก็บอุปกรณ์ เลือกชนิดที่มีกระเป๋า หลายๆ ใบ เพื่อเก็บอุปกรณ์ มีซิป ปิดให้แน่นหนา เพื่อป้องกัน สิ่งของหล่นหาย แต่ก็อย่าให้มันหลายกระเป๋าจนหาของที่ต้องการ ในเวลาเร่งรีบไม่เจอ
เสื้อกั๊ก (Vest) อุปกรณ์ เช่นเลนส์ ถ่ายภาพ ฟิลเตอร์ ถ่าน ฟิล์ม กระดาษเช็ดเลนส์ กระเป๋าตังค์ สามารถบรรจุลง ไปได้หมดในเสื้อตัวเดียว นี่คือ ความน่าสนใจของเสื้อกั๊กช่างภาพ ปัจจุบันมีขายอยู่มากกมาย หลายยี่ห้อ ยังไงก็เลือกแบบที่ใช้สอยได้ มากๆ เทห์ๆ ด้วย สีก็ตามใจชอบ

เทคนิคหรือความรู้เพิ่มเติม
    หากผู้ที่สนใจความรู้หรือเทคนิคการถ่ายภาพเพิ่มเติม ก็สามารถ e-mail สอบถามแลกเปลี่ยนกับผู้เขียนได้ dmindmap@yahoo.com หรือลงทะเบียนเรียน หลักสูตร การถ่ายภาพระดับมืออาชีพ กับทางศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล ยังมีองค์ความรู้ และประสบการณ์อีกมากมายให้เรียนรู้


contact : glocalization@thailand.com