การวางแผนการถ่ายภาพและการเดินทาง
(Photography Planning)

เรียบเรียงโดย ภก.ประชาสรรณ์ แสนภักดี (freelance photographer)
ผู้จัดการศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล (Glocalization Training Center)
รองประธานชมรมถ่ายภาพ จังหวัดขอนแก่น
web site ชมรมถ่ายภาพจังหวัดขอนแก่น http://thai.net/photokk

          ในการถ่ายภาพงานรับปริญญา ในฐานะของช่างภาพ ที่จะต้องทำหน้าที่ในการถ่ายภาพให้กับบัณฑิต สิ่งที่จะต้องมีคือ เรื่องของความคล่องตัว ทั้งในเรื่องของการ ถ่ายภาพ จะต้องไม่ขนสัมภาระจำนวนมาก ไปด้วย รวมทั้งในเรื่องของการเดินทางจากจุดหนึ่งในการถ่ายรูป ไปยังอีกสถานที่หนึ่งจะต้องสะดวก ไม่ใช่ ไปติดอยู่ในขบวนรถ ที่แออัด อันอยู่บนท้องถนน ในเขตของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันที่เราไปถ่ายภาพ
          ในการนัดหมายกับบัณฑิต ก็เช่นกันเป็นสิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญ เป็นอย่างมาก ในเช้าวันที่มีการนัดหมาย คนจะมาก ดังนั้น ควรจะมีการระบุเวลา สถานที่ และจุดที่แน่นอนให้ชัดเจน บทความตอนนี้ เราจะมาว่ากันในเรื่องของการวางแผนในการถ่ายภาพ ตั้งแต่ก่อนงาน จนไป ถึงสิ้นสุดงาน เพื่อให้เราเป็นช่างภาพ ระดับมืออาชีพ พร้อมจะทำงาน คุณภาพ ส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุด ทั้งภาพถ่าย และบริการที่ประทับใจ ให้กับบัณฑิต

 

 

 

 


หลักในการวางแผนการถ่ายภาพ

(1) วางแผนการนัดหมาย (2) วางแผนเรื่องอุปกรณ์ที่จะใช้ในการถ่ายภาพ (3) วางแผนในเรื่องของภาพที่จะถ่าย (4) วางแผนในเรื่องความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ (5) วางแผนในเรื่องชุดทำงาน

(1) การวางแผนการนัดหมาย (Appointment)
    ในการถ่ายภาพงานรับปริญญา ช่างภาพ ที่ได้รับการว่าจ้างหรือช่างภาพสมัคร เล่น ที่เป็นญาติของบัณฑิต จะต้องทำหน้าที่ยาวหลายๆ วัน เริ่มตั้งแต่ วันซ้อม หรือบางคนอ่าจจะต้องถ่ายภาพบัณฑิต ก่อนงานหลายๆ วัน ในลักษณะของการถ่ายภาพเดี่ยว เพือเก็บบรรยากาศ การวางแผนเรื่องการนัดหมายมีประเด็นที่สำคัญๆ ประกอบด้วย
     - นัดหมายเรื่องสถานที่ถ่ายภาพ ระบุให้ชัดเจนว่าตำแหน่งไหน และท่สำคัญอย่าไปนัดบริเวณที่คนเขาชอบนัดกัน จะลำบากในการไปรอเพราะคนแน่น
     - เวลาจะต้องให้ชัดเจน เช่น 06.00 น. ทั้งช่างภาพ และบัณฑิต ก็ควรจะไปถึงสถานที่นัดหมายให้ได้ตามเวลา
     - ควรจะให้เบอร์โทรศัพท์ ของช่างภาพ และบัณฑิต รวมทั้งเพื่อของบัณฑิต ไว้แก่กันและกัน เพราะการติดต่อสื่อสาร หากเกิดคาดเคลื่อนจะได้ไม่มีปัญหา
     - เป็นไปได้ ทั้งช่างภาพ กับบัณฑิต ควรจะมีโอกาสได้เห็นหน้ากันก่อนงานก็จะเป็นการดี เพราะมีบางปี ที่ช่างภาพ ใช้วิธีการนัดหมายว่าจ้างกันทางโทรศัพท์ ผู้เขียนก็เคยเป็น มีคนติดต่อ บัณฑิตให้เพื่อถ่ายภาพ ไปรอที่หน้า stand ถ่ายภาพคนอื่นๆ ไปตั้งหลาย frame แต่เอาเข้าจริง ๆไม่ใช่คนที่ตัวเองจะต้องไปถ่าย สาเหตุก็เนื่องมาจาก ในวันจริง บัณฑิต จะแต่งหน้าเหมือนงิ้ว (อิอิ)

(2) วางแผนเรื่องอุปกรณ์ที่จะใช้ในการถ่ายภาพ (Photography Tools)

    อุปกรณ์ที่จะนำติดตัวไปด้วยในการถ่ายภาพในวันจริง จะต้องมีความคล่องตัวนำไปเท่าที่จะได้ใช้ หรือจำเป็น เพื่อให้การทำงาน ของเราสะดวก คล่องตัว เพื่อแสดงความ เป็นมืออาชีพ ให้กับผู้ว่าจ้างได้เห็น เรื่องของการเตรียมตัวเรื่องอุปกรณ์ถ่ายภาพ มีประเด็นที่สำคัญๆ ดังนี้
     - กล้องถ่ายภาพ ช่างภาพไม่ว่าจะมืออาชีพ หรือสมัครเล่น จะต้องเตรียมวางแผนในเรื่องของอุปกรณ์ถ่ายภาพ จะต้องมีกล้องสำรอง อย่างน้อยอีกหนึ่งตัว เพราะกรุณา อย่าไปเชื่อกล้องที่ใช้ให้มากนัก หากหล้องหลักที่ทำงานอยู่เกิดมีปัญหาขึ้นมา เสร็จเลย เงินไม่ได้ งานไม่เดิน ถูกญาติๆ บัณฑิตสวดยับแน่สำหรับช่างภาพ สรุปก็คือ ให้มีกล้องหลัก หล้องรอง
     - ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ให้พร้อมในเรื่องของ Battery ว่ายังคงใช้การได้ ไม่ไปหมดกลางงาน มันจะวิ่งหาซื้อไม่ทัน ยิ่งกล้องบางรุ่น ต้องใช้ Battery เฉพาะ ยิ่งลำบากไปใหญ่ โดยเฉพาะกล้องที่มี Flash ในตัว มันกินถ่านมาก เพราะใช้พลังงานร่วมกัน ต้องสำรองถ่านไว้มาก ๆ
     - อุปกรณ์ในการถ่ายภาพควรจะมีการจัดทำรายการ Checklist ด้วยก่อนจะไปทำงาน
      [/ ] กล้องถ่ายภาพ [ /] เลนส์ [/ ] ถ่าน [/ ] แฟลช [/ ] ฟิลเตอร์ [/ ] ฟิล์ม [/ ] กระดาษเช็ดเลนส์ [/ ] แปลงขนอ่อนปัดฝุ่น [/ ] ลูกยางเป่าลม [/ ] ขาตั้งกล้อง (ถ่ายภาพตอนเย็น) [/ ] อื่นๆ ลองทำเป็นบัญชี checklist ดูเพื่อให้เรามีความพร้อมที่สุดในการทำหน้าที่
     - ฟิล์มถ่ายภาพ ควรจะเตรียมสำรองไว้ให้มาก ๆ อย่าให้ทันพอดีกับที่คิดมากเกินไป รวมทั้งอย่าไปเชื่อบัณฑิตมาก เพราะบางคน บอกว่าคงไม่ถ่ายมากหรอก แต่พอเอา เข้าจริงๆ ในวันจริง เพือเยอะ รวมทั้งจิตใต้สำนึก บอกว่า ฉันต้องถ่านภาพเดี่ยว เพราะฉันสวยที่สุด ปรากฎว่าช่างภาพที่เชื่อบัณฑิต ว่าจะถ่าย 4-5 ม้วน ปาเข้าไป 8 ม้วน อย่างนี้ มันจะยุ่ง ซื้อไว้เลย ฟิล์ม วางแผนเผื่อไว้เสมอ ที่สองมว้น ให้มากกว่าความเป็นจริงก็จะดี
     - กระเป๋ากล้อง หรือเสื้อกั๊ก หัวใจของความคล่องตัวในการทำงาน ของช่างภาพ มืออาชีพ ในการถ่ายภาพ ช่างภาพจะต้องมีการยืน การเดิน ก้มเงย บางครั้งอาจจะต้องนอน ราบไปกับพื้น กระเป๋ากล้องจึงมีความสำคัญ บางคนอาจจะเลือกที่จะไม่ใช้กระเป๋ากล้อง แต่เลือกใช้เสื้อกั๊ก แทน ซึ่งก็มีความสะดวก เช่น กัน โดยเฉพาะหาเสื้อที่มีกระเป๋า จำนวนมาก เพื่อไว้บริการรับฝากกระเป๋าตังค์บัณฑิตด้วย
(3) วางแผนเรื่องของภาพที่จะถ่าย (Photography planning)
     การถ่ายภาพให้ได้รายละเอียดครบถ้วนจะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ว่าจะไปถ่ายภาพที่ไหน ถ่ายมุมไหนบ้าง ใช้เทคนิคอะไร อุปกรณ์อะไร ในการถ่ายภาพ เพื่อให้เรามีความพร้อมในการถ่ายภาพ
     - จะถ่ายภาพ สถานที่ใดบ้าง เขียนมันออกมา เช่น การถ่ายภาพ หน้าป้ายต่างๆ ป้ายมหาวิทยาลัย ป้ายภาควิชาที่จบ หน้าป้ายคณะ ป้ายอาคารสำคัญ หรือจุดสำคัญของ สถาบัน เช่น โรงอาหาร ที่อาศัยกินจนเรียนจบ
     - จะถ่ายกับใครบ้าง อาจารย์ เพื่อน ญาติพี่น้อง ถ่ายคู่กับพ่อ แม่ ถ่ายรวมครอบครัว ถ่ายกับลูก ๆ ถ่ายกับแฟน ถ่ายกับคู่หมั้น จะต้องวางแผนไว้ให้ชัดเจน เพื่อให้เราไม่ลืมเก็บ ภาพบางภาพ
     - เทคนิคที่จะใช้ในการถ่ายภาพ เช่น การใช้ฟิลเตอร์ soft สร้างให้ภาพนุ่ม ในมุมแสงตอนเช้าๆ หรือสาย ๆ เพื่อเกลี่ยแสงให่ทั่วไปหน้าของบัณฑิต ถ่ายภาพโดยใช้ แฟลชเพื่อ ลบเงา ในกรณีที่แสงตอนกลางวันมีเงาบนใบหน้าบัณฑิต
     - การถ่ายภาพเทคนิคพิเศษ เช่น ในกรณีของถ่ายภาพกลางคืน ให้บัณฑิตเคลื่อนไหว ใช้แฟลชประกอบ และใช้ขาตั้งกล้องเพื่อเก็บบรรยากาศของแสงฉากหลังที่มีการประดับ ไว้ อย่างสวยงาม
(4) วางแผนในเรื่องความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ (Physical and Mental Planning)
     ช่างภาพจะต้องมีความพร้อมในเรื่องของร่างกาย ที่จะต้องสมบูรณ์ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้อิ่ม โดยเฉพาะมื้อเช้า จะต้องรับประทานอาหารให้เรียบร้อย ก่อนออกไปทำงาน ผู้เขียน มีประสบการณ์ตรงกับการที่ไม่พร้อมในเรืองของอาหารเช้า ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าก่อนไปทำงาน ทำให้เกิดอาหารปวดท้องและกระหายน้ำมาก เวลาในการแยกตัวออกไปรับประทานอาหารก็ไม่มี แต่ก็มีทางแก้บ้างก็อาจจะเป็นการนำกล้วยหอมติดตัวไปด้วย จะช่วยได้ ประเด็นสำคัญประกอบด้วย
     - นอนให้พอก่อนวันไปถ่ายภาพ ทั้งช่างภาพ และบัณฑิต
     - ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะช่างภาพจะต้องวิ่งถ่ายภาพ ทั้งวันอาจจะเหนื่อยง่าย
     - พกกล้วยหรือน้ำดื่มขวดเล็กติดตัวไปด้วย เวลากระหาย
     - อาจจะหาลูกอมติดตัวไปด้วย เพื่อเป็นแหล่งพลังงานน้ำตาลเวลาเหนื่อย

     - ช่างภาพต้องมีความพร้อมทางจิตใจ พร้อมจะตัดสินใจในการถ่ายภาพ แก้ปัญหาเมื่อเจออุปสรรค ในการทำงาน
     - กรุณาฝึกเป็นคนมีสมาธิ ในกรณีช่างภาพผู้ชาย เพราะในวันถ่ายภาพ เราจะเห็นคนแต่งตัวสวยๆ จำนวนมาก ต้องมีสมาธิ อยู่กับนางแบบของตัวเอง

(5) วางแผนในเรื่องของชุดทำงาน
     - กระเป๋ากล้องเลือกขนาดที่พอเหมาะในการบรรจุอุปกรณ์ได้พอดี เพื่อป้องกันกล้อง แฟลช เลนส์ ฟิล์ม ไม่ให้ตกหล่น กระแทก กระเป๋ากล้องมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบสะพาย เป้ หรือแบบย่าม เลือกให้ตรงความต้องการ บางครั้งอาจจะเลือกเป็นเสื้อกั๊กก็จะคล่องตัวไปอีกแบบหนึ่งก็ได้เหมือนกัน
    - อย่าพยายามแต่งกายเน้นที่ความสวยงาม แต่ขาดความคล่องตัว เพราะนั่นคือ อุปสรรคในการถ่ายภาพให้สวยงาม
    - หมวกบางครั้งก็จำเป็นเนื่องจาก แสงแดดที่ร้อนแรงช่างภาพก็อาจจะต้องดูแลผิวอันบอบบางของตัวเองด้วย
     - อย่าลืมทาครีมกันแดด ไปด้วย เพื่อป้องกันรังสีจากแสงแดด โดยควรจะเป็นครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป




เทคนิคหรือความรู้เพิ่มเติม

    หากผู้ที่สนใจความรู้หรือเทคนิคการถ่ายภาพเพิ่มเติม ก็สามารถ e-mail สอบถามแลกเปลี่ยนกับผู้เขียนได้ dmindmap@yahoo.com หรือลงทะเบียนเรียน หลักสูตร การถ่ายภาพระดับมืออาชีพ กับทางศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล ยังมีองค์ความรู้ และประสบการณ์อีกมากมายให้เรียนรู้

contact : glocalization@thailand.com