การใช้แผนที่ความคิดบันทึกช่วยจำการอ่านหนังสือ
Mind Map® for Brief Book Reading

ภก.ประชาสรรณ์ แสนภักดี M.P.H. CMU       แผนที่ความคิด (Mind Map®) เป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพมากในการช่วยการบันทึก ช่วยจำ รวมทั้งการสรุป ข้อมูลจากการอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือวิชาการ ความรู้ สารคดี บันทึก หรือเรื่องราวอะไรก็ตามที่อยู่ในรูปของตัวหนังสือไล่บรรทัด Mind Map® จะช่วยให้เราสามารถสรุปภาพรวมของเนื้อหา มองเห็นข้อมูลเชิงกว้าง และเชิงลึกไปพร้อมๆ กันได้ (The Whole Book - The Parts) ยิ่งหากเป็นผู้ที่ต้องเดินทางไปบรรยาย หรือเป็นวิทยากร การรวบรวมเรื่องราวของหนังสือต่างๆ ออกมาเป็น Mind Map® จำนวนน้อยๆ แผ่นก็ยิ่ง ได้ประโยชน์ ไม่ต้องพกหนังสือเป็นเล่มใหญ่ ๆ ไปด้วย
       บทความในตอนนี้ ผู้เขียนตั้งใจที่จะนำเสนอมุมมองของการประยุกต์ใช้ หลักการ Mind Map® กับการบันทึกการอ่านหนังสือ เพื่อผู้สนใจ จะสามารถประยุกต์ไปใช้งานกับชีวิตประจำวันได้
       เพื่อให้สามารถประยุกต์การใช้งานได้จริง ผู้เขียนจึงได้เลือก software สำหรับการเขียน Mind Map® เพื่อบันทึก ประเด็นสำคัญที่ได้จาก การอ่าน และให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น ผู้เขียนได้เลือกหนังสือ ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 23 ของประเทศไทย โดยหนังสือที่เลือกมาแสดงตัวอย่างเป็นหนังสือในชุด THAKSINOMICS เมื่อนำมาแปลงออกมาเป็น Mind Map® ผู้เขียนขอใช้คำว่าใหม่ๆ สองคำที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย THAKSINOMIND และ THAKSINOMAP คำแรก เป็นการแสดงถึงความคิดของ นายก คำที่สอง แสดงถึงแผนที่ความคิดของนายกนั่นเอง
       สำหรับโปรแกรมที่ใช้ในการบันทึกผู้เขียนได้เลือกใช้โปรแกรมหลากหลาย ประกอบกันเพื่อให้ได้ความหลากหลายของภาพ ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มีลูกเล่นแตกต่างกัน โปรแกรมที่ใช้ประกอบด้วย
MindMapper V3.5   () download ได้จากเว็บไซต์ www.mindmapper.com
MindManager2002  () download ได้จากเว็บไซต์ www.mindjet.com
MindManager X5 download ได้จากเว็บไซต์ www.mindjet.com
MindGnius V1.5  () download ได้จากเว็บไซต์ www.mindgenius.com

โปรแกรมแต่ละตัวให้ผลงานที่แตกต่างกันออกไป ผู้สนใจดูตัวอย่างผลงานได้โดยการ click here



  +    =  


หลักการบันทึกการอ่านหนังสือด้วย Mind Map® มีดังนี้

1. เริ่มต้นกำหนด Subject of Mind Map โดยกำหนดหัวข้อของบท หรือ Topic นั้นๆ เช่น บทที่เรากำลังอ่าน หัวข้อว่า การพัฒนาคุณภาพประเทศไทย เชิงบูรณาการ ดังนั้น Subject of Mind Map ก็จะกำหนดเป็น การพัฒนาคุณภาพประเทศไทย เชิงบูรณาการ
2. อ่านแบบคร่าวๆ ทั้งบทเพื่อหัวประเด็นสำคัญว่า มีทั้งหมดกี่ประเด็น เพื่อกำหนดเป็น Node หรือ Main branches ของ Mind Map®
3. อ่านในรายละเอียดเชิงลึกของแต่ละหัวข้อ เพื่อแตกแขนง Sub-branches ออกไปเรื่อยๆ เท่าที่เนื้อหาจะมีให้แยกย่อยลงไป
4. เมื่อแตกแขนงได้ครบทุกขาแล้ว จากนั้นก็มาทบทวนว่ามีเรื่องใดที่มีความสัมพันธ์กันเราก็กำหนดเส้นความสัมพันธ์ (relationship)
5. จากนั้นเมื่อเขียน Mind Map® เสร็จแล้ว ให้กำหนดหัวข้อของแผนภูมิ Mind Map® หรือ หัวกระดาษว่าเรื่องอะไร สรุปจากหนังสือเล่มไหน รวมทั้งใส่บันทึกไว้ด้วย ว่าใครเป็นผู้เขียน Mind Map® หรือ Mapping โดยใคร เผื่อวันข้างหน้ามีผู้นำไปใช้จะได้อ้างอิงได้ถูกต้องถึงแหล่งที่มา
หมายเหตุ !!! ดูผลงานได้จากรวม THAKSINOMAP click here

ทดลองเขียนดูนะครับ เพื่อให้มีประสบการณ์ตรงกับการบันทึกข้อมูลจากการอ่านหนังสือ เลือกหนังสือดีๆ สักเล่ม ที่เราชอบหรืออยากจะอ่านแบบใหม่ อ่านแบบแยกแยะ ประเด็น อ่านแบบสรุปเป็น Mind Map® อาจจะะเลือกหนังสือทางด้านบริหาร หรือหนังสือ How To ทั้งหลายก็ได้

หมายเหตุ
: ต้องการหลักสูตรอบรมแผนที่ความคิดกับการประยุกต์ใช้งาน ติดต่อ กับศูนย์ฝึกอบรมได้ตลอดเวลาท่ e-mail ด้านล่างนี้


Glocalization Training Center

e-mail : glocalization@thailand.com
Fax : 0-4332-4071
Mobile : 0-1661-8579
copy right © 2003-2004