การคิดแบบ 4 ยอ
โดย ภก.ประชาสรรณ์ แสนภักดี M.P.H. CMU
ผู้จัดการศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล
การคิดแบบ
4 ยอ เป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการคิดในหลายๆ แบบ เรื่องราวของการคิดแบบ 4 ยอ เป็นสิ่งที่
ผู้เขียน สร้างขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสในการอ่านงานเขียนทางด้านความคิดจากนักคิดหลายๆ
ท่าน แล้วก็สรุปได้ว่า ไม่ว่าเราจะ พูด หรือ นำเสนอเรื่องอะไร ก็มักจะไม่เกินกรอบของการคิด
ในแบบ 4 ยอ เสมอ แล้วผู้เขียนเองก็ได้นำเรื่องหลักการ 4 ยอไปใช้ในงานประจำและชีวิต
ประจำวันเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอกรอบแนวคิดในที่ประชุม หรือการเดินทางไปบรรยาย
ให้กับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน 4 ยอ จึงเป็นคำตอบพื้นๆ สำหรับการคิดเป็น
เรามาดูกันว่า หลักการคิดแบบ 4 ยอ คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง (Mind Map®
การคิดแบบ 4 ยอ |
| click)
หลักการคิดแบบ 4 ยอ เป็นการคิด รอบด้าน
ทั้งภาพรวม และภาพย่อย ที่เป็นองค์ประกอบแต่ละส่วน 4 ยอ ประกอบด้วย ใหญ่ - แยก
- ย่อย - โยง แล้วทำไมต้อง คิดในแบบนี้ เหตุก็เนื่องจาก ไม่ว่าเราจะคิดเรื่องอะไรก็ต้องเข้าใจภาพใหญ่
(The Whole) ก่อนเสมอ เรียกว่า มองภาพรวมๆ คร่าวๆ ใก้ได้ชัดเจนก่อน การลงไปในรายละเอียดปลีกย่อย
นั้นเอง ซึ่งหากการคิดเป็นไปในแนวทางนี้ ก็เรียกว่า เริ่มจะมีความ คิดหรือหลักการในการคิดเชิงระบบ
(system thinking) เบื้องต้นแล้ว
ใหญ่ (Whole) :
หมายถึงการเข้าใจภาพใหญ่ หรือภาพรวม หากเทียบกับการคิดแบบหมวก 6 ใบ ของ Bono
ก็คือ การสวมหมวกสีฟ้า เพื่อมองภาพรวมก่อนนั่นเอง การจะเป็นคนมองภาพรวมได้ก็จะต้องเป็นผู้ที่รอบด้าน
รอบรู้ ในเรื่องราวต่างๆ อาจจะไม่ ต้องลงลึกในรายละเอียด แต่ก็จะต้องรู้บ้าง
"รู้บางอย่างในทุกๆ เรื่อง และรู้ทุกเรื่องในบางอย่าง"
ที่ผู้เขียนเคยได้รับฟังมาจาก นพ.กระแส ชนะวงศ์ ที่บรรยาย ในห้องเรียน ปริญญาเอก
สาขา พัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การฝึกการคิดแบบภาพใหญ่ง่ายๆ ก็ลองดูคำว่า
ป่า (Forest) กับคำว่าต้นไม้ (Tree) หรือสมุนไพร (Herb) หรืออาจจะมองชีวิตของคนเรา
ทั้งตัวคือ ชีวิต (Life) แต่เราก็มีอวัยวะ ต่างๆ ประกอบเข้าเป็นตัวเรา (part)
แยกออกเป้นส่วนๆ นั่นเอง หากเราเข้าใจ ชีวิตก็เท่ากับเราเข้าใจภาพรวมองค์รวม
แต่เพื่อให้เข้าใจลึกลงไปอีกเราก็ต้องเรียนรู้แต่ละส่วนของเรื่องใหญ่ๆ เรื่องนั้นๆ
นั่นเอง
แยก (Part) : ส่วนประกอบต่างๆ
ของเรื่องราวใหญ่ๆ คือ อะไร ประกอบไปด้วยกี่องค์ประกอบ ประกอบไปด้วยกี่ด้าน กี่เรื่องราว
การจะคิดแบบแยกได้อย่างเข้าใจ เราก็จะต้อง มีมุมมองที่หลากหลาย (view point)
ไม่ใช่มองแต่มุมเดียว เพราะการมองแบบรอบด้านจะเห็นหลายมุม หลายองค์ประกอบ หรือหากจะเข้าใจกรณีของเรื่องชีวิต
ก็ลองมองส่วนประกอบเล็กๆ ดูว่า อะไรบ้างมาประกอบกันเป็นชีวิต เช่น มีร่างกาย
จิตใจ ความรู้สึก จิตวิญญาณ และอื่นๆ ประกอบกันเข้าเป็นชีวิต หนึ่งชีวิต การแยกส่วนออกมามันจะนำพาเราให้เข้าไปในรายละเอียด
ย่อย ในขั้นต่อไปได้อีก เช่น เราสนใจ เฉพาะเรื่องของร่างกาย เราก็มาดูต่อว่า
ร่างกาย ต้องเป็นอย่างไร มีระบบย่อย อะไรอีก เสริมเติมเข้ามา ร่างกายจึงจะคงสภาพ
มีคุณภาพ มีสุขภาพดี
ย่อย (Sub-part) :
ย่อยเป็นการลงไปในรายละเอียดของแต่ละส่วน (แยก) การคิดในแบบย่อยนี้ จะต้องอาศัย
ความมุ่งมั่น ความเข้าใจ บางคนไม่ยอมเสียเวลาในการคิด ย่อย ทำให้ลงไปไม่ถึงแก่นแท้ของเรื่อง
(core) มองเห้นแค่เปลือก หรือหากเป็นเวทีของการแก้ไขปัญหา หรือวิเคราะห์ปัญหาก็ไปไม่ถึงแก่นของปัญหา
การคิอแบบย่อย นี้ จะไปสัมพันธ์กับหลักการวิเคราะห์แบบ Why-Why analysis ของทางญี่ปุ่น
ก็คือหากเราต้องการเข้าใจภาพย่อยที่สุดก็ต้องถาม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ถึง
5 ครั้งเพื่อให้ได้คำตอบลึกที่สุด หรือเรื่องที่ต้องการหรือเรื่องที่สนใจจริงๆ
ไม่อย่างนั้นเราจะได้เฉพาะเปลือกเท่านั้น ไม่ได้แก่นสาร แก่นแท้ของเรื่อง
โยง (Connect) :
การเชื่อมโยงหรือการคิดแบบเชื่อมโยง เป็นสุดยอดของทั้ง 4 ยอ เพราะเมื่อเราแยก
ย่อย เนื้อหา สาระต่างๆ แล้ว สุดท้ายหากเราต้องการสรุปความ หรือสรุปเรื่องราวต่างๆ
มันจะต้องเชื่อมโยงกลับมาสู่ภาพใหญ่ อาจจะเรียกว่าเป็นการบูรณการ (Integration)
นั่นเอง คนที่จะสามารถคิดในแบบ เชื่อมโยงได้จะต้องเป็นคนที่ ฝึกการนำสิ่งที่ไม่เหมือน
หรือสิ่งที่ไม่สัมพันธ์มาฝึกการโยง หรือการเชื่อมให้ได้ การจะทำได้ส่วนหนึ่งก็ต้องอ่านหนังสือมาก
ๆ เพื่อจะได้มีคลังของข้อมูลเพื่อนำมาเชื่อมโยงให้ได้ เรียกว่าจะต้องมีการจัดการความรู้
(Personal Knowledge Management - PKM) เพื่อให้พร้อมจะโยงทุกเรื่องราวเข้าหากัน
อาจจะเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นการ สังเคราะห์ ซึ่งก็ไปสอดคล้องกับหลักการคิดเชิงสังเคราะห์
(Synthetic Thinking)
การประยุกต์ใช้การคิด
4 ยอ
สามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อสอบของนักศึกษาที่เป็นแบบวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
(Systhesis) หรือหากเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล หรือทำวิจัย ก็สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของการทำงานกับภาคประชาชน ก็ยิ่งจะช่วยให้มองเห็นปัญหาที่แท้จริง ด้วยการทำประชาคมเพื่อค้นหาปัญหาหลัก
จากนั้น นำที่ประชุมแยกประเด็น แล้วลงย่อยในรายละเอียด สุดท้ายเราก็โยงกลับมาเป็นความสัมพันธ์ต่างๆ
ได้
หนังสืออ่านประกอบ : หนังสือชุดผู้ชนะ 10 คิด ของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์ click
รอพบกับหนังสือคุณภาพ Idea Management : การจัดการความคิด เรียบเรียงโดย เภสัชกรประชาสรรณ์
แสนภักดี เร็วๆ นี้
Glocalization Training Center
e-mail : glocalization@thailand.com
Fax : 0-4332-4071
Mobile : 0-1661-8579
copy right © 2003-2004