กฎ และ หลักการในการเขียนแผนที่มโนทัศน์ (Law and Rule of Concept Mapping)


โดย ภก.ประชาสรรณ์ แสนภักดี
ศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล
Glocalization Training Center


       การเขียนแผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping) มีหลักการคือ การเชื่อมโยงความคิด (Node) ด้วยเส้นเชื่อมโยง (Relationship) ที่มีคำอธิบายบนเส้นความสัมพันธ์ (Label) โดยเป็นการอธิบายความสัมพันธ์ เพื่อแสดงทิศทางของความสัมพันธ์ด้วยทิศทางของหัวลูกศร (Direction) ตัวอย่างเพื่อความเข้าใจดูได้จากภาพประกอบซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Novack ซึ่งเป็นต้นตำรับของผู้พัฒนา Concept Map



ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ : http://chd.gse.gmu.edu/immersion/knowledgebase/strategies/cognitivism/conceptmap.htm
ตัวอย่างภาพประกอบ : http://library.usu.edu/Tutorials/CMSamples.htm
จากภาพด้านบนเราจะเห็นวิธีการเขียน แผนที่มโนทัศน์ ที่เป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคำด้วยเส้นความสัมพันธ์ โดยมีข้อความหรือ Label ของ Link และหัวลูกศร ที่แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ (Link direction)
อีกตัวอย่างเพื่อความชัดเจนในการทำความเข้าใจ ( http://library.usu.edu/Tutorials/CMinstruction2.htm)


หลักการในการเขียนแผนที่มโนทัศน์ มีดังนี้
1. เขียนตัวหนังสือเป็นแบบตัวพิมพ์ใหญ่ กรณีภาษาอังกฤษ หรือ ตัวหนาและเน้นคำกรณีเป็นภาษาไทย สำหรับประเด็นความคิด (Node)
2. ใช้กระดาษแบบไม่มีเส้น (Unlined paper) เพื่อไม่ให้เส้นที่อยู่บนกระดาษมาขีดกรอบความคิด หากเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้เส้นบรรทัดอยู่ในแนวตั้ง (Vertical)
3. ใช้กระดาษเปล่าที่ไม่มีการเขียนอะไรมาก่อน
4. เชื่อมคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันด้วยเส้น (Link line) หากมีความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นก็แตกเส้นเชื่อมออกไปด้านข้างดังในภาพข้างบน
5. เขียนต่อเนื่องไปอย่างรวดเร็วไม่ต้องหยุด ส่งผ่านความคิดให้เกิดความลื่นไหลไปเรื่อยๆ ไม่ต้องหยุดว่าความคิดควรจะอยู่ตรงไหน เขียนลงไปก่อน (เราสามารถเคลื่อนย้ายหรือลากเส้นความสัมพันธ์ได้ทีหลัง)
6. เขียนทุกอย่างลงไปโดยไม่ต้องตีความหรือพยายามหาคำอธิบายใดๆ เพราะกระบวนการจะหยุดชะงักในการคิด
7. หากถึงทางดันของการคิดก็ลองมองไปรวมๆ ทั้งภาพแผนที่มโนทัศน์เพื่อดูว่ายังมีส่วนใดตกค้างหรือหลงเหลือที่ยังไม่ได้เขียนลงไปหรือไม่
8. บางครั้งอาจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สี หรือรูปทรง (shape) เพื่อแยกแยะหรือจัดหมวดหมู่ความคิด

สิ่งที่ควรจะปรากฎในแผนที่มโนทัศน์
   1. มีการแตกแขนงความคิด (Branches)
   2. ลูกศรแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแขนงความคิด (Node) Arrow Direction
   3. การจัดกลุ่มของความคิด (Grouping ideas) โดยอาจจะขีดเส้นล้อมกรอบกลุ่มความคิด
   4. รายละเอียดในรูปแบบของรายการ (List) เพื่อแสดงประกอบแต่ละความคิด (Node List)
   5. บางครั้งอาจจะมีคำอธิบายประกอบแขนงความคิด (Node / Branches Note)

ศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล - ขอนแก่น